ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ประวัติ แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม

โพสต์ล่าสุด

ประวัติ หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ หรือ พระราชธรรมาภรณ์ วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม

ประวัติ หลวงพ่อเงิน จนฺทสุวณฺโณ หรือ พระราชธรรมาภรณ์ วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม หลวงพ่อเงิน ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2433 ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นบุตรคนที่ 4 ของ นางกลอง-นายพรม นามสกุล ด้วงพลู ครอบครัวของท่านถือได้ว่าเป็นผู้มีอันจะกินครอบครัวหนึ่งในตำบล ดอนยายหอม ในขณะนั้น หลวงพ่อเงิน เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม รูปร่างแข็งแรงสมบูรณ์สูงใหญ่ผึ่งผาย ผิวพรรณสะอาด หน้าตาจัดว่าเป็นชายหนุ่มรูปงามในตำบลนั้น แต่ก็เป็นการประหลาดอยู่ไม่น้อยที่ไม่มีนิสัยเจ้าชู้เลย จึงไม่เคยมีคู่รักคู่ใคร่เหมือนหนุ่มชายคนอื่น ไม่ชอบเที่ยวเตร่ไปไหน เหล้าไม่ดื่ม การพนันไม่เล่น อยู่แต่บ้านทำแต่งาน ทำอะไรก็เรียบร้อยประณีต สะอาดเรียบร้อย ชนิดที่ว่า ผู้หญิงสาวๆ ก็สู้ไม่ได้ อาจารย์พรหมและนางกรอง บิดามารดา จึงมักจะพูด อยู่เสมอๆ ว่า "เอาลูกสาว 5 คนมาแลกก็ไม่เอา" มีความหมายว่า ถึงผู้หญิง 5 คนรวมกัน ก็สู้ลูกชายคนนี้ไม่ได้ ครั้นเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ ครบบวชแล้ว บิดามารดา จึงได้จัดการบวชให้ตามประเพณี พ่อแม่และลูกชาย มีคว

ประวัติ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี

ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์ และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป     ทารกอัศจรรย์     เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ป

ประวัติ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน หรือ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (หลวงพ่อคล้าย จนฺทสุวณฺโณ)

ประวัติ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน หรือ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (หลวงพ่อคล้าย จนฺทสุวณฺโณ) ประวัติพ่อท่านคล้าย วัดพระธาตุน้อย พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน วัดพระธาตุน้อย พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปว่า "พ่อท่านคล้าย" ประวัติ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เทวดาเมืองคอน พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์" นามตามสมณศักดิ์ท่านคือ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช+ พ่อท่านคล้าย นามเดิมว่า "คล้าย สีนิล" เกิดตรงกับ วันที่27ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็งเป็นภรรยานายซ้าย เพ็ชรฤทธิ์ ไม่มีบุตรสืบสกุลแต่มีบุตรบุญธรรมหนึ่งคน ชื่อนายครื้น เพ็ชรฤทธิ์ พ่อท่านคล้าย มีลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นท

ปฏิปทา และข้อวัตรปฏิบัติ ของ หลวงพ่อเกษม เขมิโก สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง

ปฏิปทา และข้อวัตรปฏิบัติ ของ หลวงพ่อเกษม เขมิโก สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง ปฏิปทาและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ จากคำบอกเล่าของเจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง หลานชายของท่าน ซึ่งท่านรักและเอ็นดูเปรียบเสมือนบุตรบุญธรรม ได้เล่าบันทึกเทปเอาไว้ว่า หลวงพ่อ (เจ้าประเวทย์เรียกหลวงปู่ว่า "หลวงพ่อ" ไม่เรียก "หลวงลุง" ตามศักดิ์) เวลาอยู่วัดนั้นจะวิปัสสนาภาวนาอย่างเดียว ท่านไม่สนใจเรื่องสร้างวัด หญ้าก็ไม่แผ้วถาง ปล่อยให้ขึ้นรกรุงรัง เวลาออกบิณฑบาตกลับวัด จะต้องเอาข้าวอาหารที่ได้รับ มาแบ่งข้าว และจิ้มส้ม ใส่บาตรไปให้แม่ก่อน ให้แม่กินก่อน แล้วก็เอาข้าว โยนให้นก ให้หมา กา กิน เวลาออกบิณฑบาต มีหมาตามเป็นฝูง เพราะมันเคยได้ส่วนบุญกิน เจ้าแม่บัวจ้อน กลัวลูกจะไม่ได้กินดีตอนอยู่วัดบุญยืน เวลาแกงผักก็แอบเอาฮ้า (ปลาร้า) ใส่ในแกง หลวงพ่อดมมีกลิ่น ไม่ฉัน แล้วพูดออกมาว่า ใครเอาฮ้าใส่แกง ผมก็ต้องรับเอาว่าผม (เจ้าประเวทย์) เอาฮ้าใส่ ท่านพูดน้อย ไม่กิน แล้วไม่พูด หลวงพ่อฉันมื้อเดียว ข้าวปลาอาหาร ขนม ที่เหลือก็ขว้างทิ้งให้นกกาหมากินหมด หลวงพ่อบวชครั้งแรก บวชหน้าไฟ บวชอีกครั้งหนึ่งอายุ ๑๖ ปี เพราะกา

ประวัติหลวงพ่อหอม จนฺทโชโต (พระครูภาวนานุโยค) วัดซากหมาก อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

ประวัติหลวงพ่อหอม จนฺทโชโต (พระครูภาวนานุโยค) วัดซากหมาก อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง     หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต (พระครูภาวนานุโยค) ในปัจจุบันแม้ระยะเวลาจะห่างออกมาจากพุทธกาลกว่า ๒๕๐๐ ปีกว่าๆ สัจจธรรมจากการตรัสรู้แท้ของพระบรมศาสดาก็ยังมีอยู่ไม่หนีหายไปไหน แต่หากว่าได้อยู่กับสาวกผู้มีความเพียรต่อการศึกษา จดจำและปฏิบัติอย่างถูกต้องแท้จริงเท่านั้น แม้สาวกผู้มีความเพียรดังกล่าวนี้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีสืบทอดต่อๆ กันมามิได้ขาดสาย ดังจะเห็นได้จากกรรมานุภาพของพระภิกษุบางรูป มีผลให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์ยากที่พระภิกษุธรรมดาอื่นๆ อีกจำนวนมากจะทำเช่นนั้นได้ หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อทอด หลวงพ่อท่านคล้าย หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อโอภาสีหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อครูบาศรีวิชัย หลวงพ่อเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต หลวงพ่อทิม หลวงพ่อครูบาอินโต หลวงพ่อถิร หลวงพ่อเต๋ หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อชื่น พระอาจารย์ฝั้น และอื่นๆ ฯลฯ เป็นตัวอย่างของพระภิกษุผู้ทรงคุณวิเศษในยุคใหม่นี้และในยุคดังกล่าวนี้มี ที่จะต้องกล่าวถึงอย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งซึ่งเป็นพระภิกษุที่เปรียบเสมือน เป็น“ช้างเผือก” ในพุทธอาจักร

ประวัติ หลวงปู่อิ่ม ปญฺญาวุโธ หรือ พ่อท่านอิ่ม วัดทุ่งนาใหม่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

หลวงปู่อิ่ม ปญฺญาวุโธ หรือ พ่อท่านอิ่ม วัดทุ่งนาใหม่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช สำหรับประวัติ "หลวงปู่อิ่ม" ถือว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ 5 เเผ่นดิน และศิษย์ พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน "หลวงปู่อิ่ม" มีเดิมชื่อ นายอิ่ม วุฒิพงศ์ เป็นบุตร นายเอี่ยม นางช่วย วุฒิพงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 6 ธันวาม 2459 หรือช่วงต้นรัชกาลที่ 6  เมื่ออายุ 17 ปี ราวปี 2476 ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยพระครูรังสรรค์อธิมุตต์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดยางค้อม โดยในวัยเด็ก ท่านมีโอกาสได้รับใช้ใกล้ชิดพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ อันเนื่องด้วยจากท่านเป็นหลานเเท้ ๆ ของพ่อท่านคล้าย ซึ่งท่านจะมาหาญาติของท่าน ซึ่งเป็นครอบครัวของ "หลวงปู่อิ่ม" อยู่เป็นประจำ จนเมื่ออายุครบ 20 ปี ในราวปีพ.ศ. 2479 ท่านได้อุปสมบท โดยมี พระอาจารย์ปลอด วัดนาเขลียง เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดยางค้อม เเละได้ครองสมณะเพศเป็นเวลา 1 ปีจึงได้ ได้ลาสิกขา เพราะจำเป็นต้องไปช่วยพ่อแม่ทำสวน ตามวิถีชีวิตปกติของคนทั่วไป เเต่ขณะท่านเป็นฆราวาส ก็ยังคงได้ ร่ำเรียนวิชาจากพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ซึ่งเป็นทั้งครูอาจารย์เเละเป็นญาติผู้ใหญ่ม