บุญเรือน แม่ชี คุณแม่ และอุบาสิกา เป็นสรรพนามที่ลูกศิษย์ใช้เรียกชื่อ แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม เนื่องจากท่านมีหลายสถานะ ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๗ ท่านได้กำเนิดในครอบครัว ที่มีฐานะค่อนข้างยากจน มีนายยิ้ม กลิ่นผกา เป็นบิดา และมีนางสวน กลิ่นผกา เป็นมารดา สถานที่เกิดอยู่ที่คลองสามวา อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อมีอายุพอสมควรก็ได้สมรสกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม โดยได้ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นการช่วยสามีอีกแรงหนึ่ง และรับรักษาโรคโดยเป็นหมอนวด ซึ่งการเป็นหมอนวดเพื่อรักษาโรคนั้น ท่านทำเป็นการกุศลไม่มีสินจ้าง ขณะเดียวกันท่านยังมีความสามารถในการทำคลอด หรือเป็นหมอตำแยแผนโบราณด้วย ซึ่งทำให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากในขณะนั้น ด้วยความ เลื่อมใสในพุทธศาสนา ขณะที่ยังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ ส.ต.ท.จ้อย ได้ไปฟังพระสวดมนต์ ฟังธรรมที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่บ่อยๆ ทั้งได้ฝึกหัดทำวิปัสสนากัมมัฏฐานที่วัดนี้ด้วย ทำให้คุณแม่บุญเรือนมีความใกล้ชิดและผูกพันในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก คุณแม่บุญเรือนก็ได้ลาสามีบวชเป็นชีและอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดสัมพันธวงศ์ ได้พากเพียรพยายามฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้อยู่ปฏิบัติที่ศาลาวัดสัมพันธวงศ์ จนทำให้เกิดความเข้าใจ และปลอดโปร่งในธรรมะ รักความสงบประกอบการกุศลต่าง ๆ ช่วยปักหมอนสำหรับธรรมาสน์พระสวดปาฏิโมกข์เป็นต้น อย่างไรก็ตามนับ ตั้งแม่ชีบุญเรือนได้วายชนม์ทิ้งร่างไปเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๗ เวลา ๑๑.๒๐ น. สิริอายุรวม ๗๐ ปี ซึ่งนับได้ประมาณกว่า ๔๐ ปีมาแล้ว ทุกวันนี้ยังมีผู้คนไปสักการบูชากราบไหว้ขอพรจากรูปปั้นของท่าน อยู่เสมอมิได้ขาด โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ เวลาหลังเที่ยง จะมีสานุศิษย์และผู้ศรัทธาของคุณแม่ต่างพร้อมใจไปชุมนุมกัน เพื่อสวดมนต์ต่อหน้ารูปหล่อของท่านที่ศาลาดังกล่าว โดยปฏิบัติติดต่อกันทุกวันอาทิตย์ พระพุทโธน้อยถูกสร้างขึ้นมาทั้งหมด ๒ ครั้ง ในปี ๒๔๙๔ และ ๒๔๙๙ เป็นพิมพ์ทรงสามเหลี่ยม องค์พระพุทธประทับนั่งปางมารวิชัยเหนือฐานบัวสองชั้น พระเกศเป็นตุ่มเมาลี พระนาสิกเป็นสันนูน พระเนตรเม็ดกลมนูนพระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์ ด้านหลัง มีอักขระขอมจารึกยันต์ต่างๆ ไว้ชัดเจน จำนวนการสร้างพระพุทโธน้อย มีดังนี้ ๑.เนื้อดินเผา จำนวน ๕๐,๐๐๐ องค์ ๒.เนื้อผงพุทธคุณ จำนวน ๓๐,๐๐๐ องค์ ๓.เนื้อผงใบลานสีดำผสมผงพุทธคุณ จำนวน ๒๐,๐๐๐ องค์ ๔.เนื้อพิเศษ ทรายเสก ปูนเสก / เนื้อไพล มีน้อยมาก พระพุทโธน้อยพิมพ์ใหญ่ ๑. พระพุทโธพิมพ์ใหญ่จัมโบ้หลังยันต์พุทโธ ๒. พระพุทโธพิมพ์ใหญ่หลังยันต์พุทโธ ๓. พระพุทโธพิมพ์ใหญ่หลังยันต์นะอะระหัง ๔. พระพุทโธพิมพ์ใหญ่หลังยันต์เฑาะว์ ๕. พระพุทโธพิมพ์ใหญ่หลังยันต์เฑาะว์ดอกบัว ๖. พระพุทโธพิมพ์ใหญ่หลังเรียบ -พระพุทโธน้อยพิมพ์กลาง ๑. พระพุทโธพิมพ์กลางหลังยันต์พุทโธ ๒.พระพุทโธพิมพ์กลางหลังยันต์นะอะระหัง ๓.พระพุทโธพิมพ์กลางหลังยันต์พุทโธบัวติดขอบ -พระพุทโธน้อยพิมพ์เล็ก ๑. พระพุทโธพิมพ์เล็กหลังยันต์พุทโธ ๒. พระพุทโธพิมพ์เล็กหลังยันต์นะอะระหัง ๓. พระพุทโธพิมพ์เล็กหลังยันต์เฑาะว์ดอกบัว พระพุทโธน้อยนี้ ผู้ปลุกเสกไม่ใช่พระสงฆ์ เป็นอุบาสิกาที่ถือศีลห้า นั่นก็คือ คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ที่ท่านปฏิบัติธรรมจนเคร่งครัด สำเร็จคุณธรรมขั้นสูง สามารถล่องหน หายตัวได้ เดินกลางฝนไม่เปียก เสกของอธิษฐาน ให้คนกิน จนหายจากโรคร้าย และ ท่านมีวาจาสิทธิ์ มีคนพิการขาเป๋หลังโก่ง เดินไม่ได้ ต้องใช้ไม้เท้า มาหาคุณแม่ คุณแม่สั่งให้ทิ้งไม้เท้า และสั่งให้เดินเอง ปรากฏว่า หลังกลับตรง และเดินได้เอง อย่างน่าอัศจรรย์ จนวาระสุดท้าย เมื่อคุณแม่เสียชีวิต กระดูกกลายเป็นพระธาตุ ดุจดังกับพระอริยเจ้าสายพระป่ากรรมฐาน พระพุทโธน้อยนี้ เด่นมาก การขอพรได้รวดเร็วทันใจ (ถ้าสิ่งนั้นไม่ผิดศีลธรรม) จนเป็นเรื่องปกติครับ ไม่ว่าเรื่อง การงาน การเงิน ถ้าท่านศรัทธาจริงมีผลแน่นอน พระพุทโธน้อย" เป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่ท่านสร้างขึ้นและอธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธวิกสิตาราม ตำบลบางพลัดนอก ธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ เป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก กรอบทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้า องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนือฐานบัวสองชั้น พระเกศเป็นมุ่นเมาลี พระนาสิกเป็นสันนูน พระเนตรเป็นเม็ดกลมนูน และพระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์ ส่วนด้านหลัง มีอักขระขอมจารึกเป็นเส้นลึกอ่านว่า "พุทโธ" โดยมีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก มีทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อผงพุทธคุณ จำนวนการสร้างรวมทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ องค์ (มียันต์พิเศษ จำนวน ๓,๐๐๐ องค์) พระพุทโธน้อย แม้จำนวนสร้างจะมาก แต่ด้วยความศรัทธาในตัวผู้สร้างและพุทธคุณเป็นเลิศปรากฏครบครันทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด เจริญด้วยโภคทรัพย์ และกำจัดโรคร้าย ทำให้ หมดไปภายในเวลาอันรวดเร็ว นับเป็นพระเครื่องเก่าแก่และน่าสะสมมากพิมพ์หนึ่ง ด้วยพุทธคุณที่ปรากฏอย่างสม่ำเสมอแก่ผู้ที่เคารพศรัทธาและกราบไหว้สักการะไม่ขาด ว่ากันว่ามุ่งหวังสิ่งใดก็จะสำเร็จสมความตั้งใจอีกทั้งแคล้วคลาดภยันตรายทั้งปวง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น