ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์ วัดระฆังโฆสิตาราม เขตบางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพมหานคร

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์ วัดระฆังโฆสิตาราม เขตบางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพมหานคร

พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์พระประธานใน พระชุดเบญจภาคี ท่านผู้สร้าง คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พุทธคุณ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง มีมากมาย นับว่าเป็นพระเครื่องยอดนิยมอันดับหนึ่งตั้งแต่มีวงการพระเครื่องมา
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ที่พระนครศรีอยุธยา ท่านมีอายุยืนยาวนานถึง ๕ แผ่นดิน โดยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลไม่กี่คนที่อยู่ทันเห็น รัชกาลที่ ๑ พระองค์จริง ทั้งนี้ เมื่อท่านอุปสมบท รัชกาลที่ ๑ ทรงพระเมตตารับเป็นนาคหลวง อุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน พระสังฆราชองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นผู้สร้าง พระสมเด็จฯอรหังขึ้น ทั้งนี้ ว่ากันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ดำเนินรอยตามการสร้างพระตามสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน ในปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์”

หลังจากนั้น ๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ ท่านได้เริ่มสร้างพระสมเด็จฯวัดระฆังโฆสิตาราม สำหรับมูลเหตุในการสร้างพระสมเด็จฯวัดระฆังนั้น เล่ากันว่า เมื่อครั้งที่ท่านขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่มีชื่อเสียงเรื่องพระพิมพ์ ในครั้งนั้นท่านได้พบพระพิมพ์โบราณที่วัดเสด็จซึ่งเป็นวัดร้าง ท่านจึงได้นำพระพิมพ์เหล่านั้นกลับมาบางส่วนพร้อมทั้งดำริที่ว่าจะสร้างพระเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาเหมือนดังที่คนโบราณได้กระทำมา

สำหรับมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จฯ ประกอบด้วย

• ปูนขาวเป็นส่วนใหญ่ (เอาเปลือกหอยมาเผาเป็นปูนขาว)
• ผงพุทธคุณ ซึ่งเกิดจากการเขียนอักขระลงบนกระดานชนวนแล้วลบ จากนั้นนำผงที่ได้มาปั้นแล้วนำมาเขียนใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำๆ โดยเริ่มจากผงปถมัง ผงอิทธิเจ ตรีนิสิงเห มหาราช และพุทธคุณ ผงที่ได้จึงมีอานุภาพสูงสุด
• ส่วนผสมอื่นๆ ได้แก่ ใบลานเผา ดอกไม้แห้ง เศษจีวรพระ และเนื้อพระประสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว เพื่อกันการแตกร้าว

สำหรับขั้นตอนกรรมวิธีนั้น

• นำเอามวลสารผสมแล้วนำมาตำเป็นเนื้อพระสมเด็จ
• ปั้นเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ตัดออกเป็นชิ้นๆ (เรียกว่า ชิ้นฟัก)
• นำเนื้อพระสมเด็จชิ้นฟักวางลงที่แม่พิมพ์ ซึ่งแกะจากหินชนวน แล้วกดเนื้อพระกับแม่พิมพ์
• ตัดขอบพระเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ตอกตัดดอกไม้ไผ่ที่ใช้จักสาน

สำหรับแม่พิมพ์ ของพระสมเด็จฯนั้น เป็นแม่พิมพ์พระอย่างแรกที่เป็นศิลปะแบบ Abstract คือ เป็นลายเส้นรูปพระ แทนที่จะเป็นแบบที่มีรายละเอียดที่เป็นรูปพระเสมือนองค์จริง

แม่พิมพ์ พระสมเด็จฯ วัดระฆัง มีทั้งหมด ๕ พิมพ์ คือ

๑. พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน)
๒. พิมพ์ฐานแซม
๓. พิมพ์เจดีย์
๔. พิมพ์ปรกโพธิ์
๕. พิมพ์เกศบัวตูม

ขอบคุณข้อมูลจาก
สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
69/21 ชั้น 3 ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า งามวงค์วาน ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
02-952-7898
02-952-5490
https://www.samakomphra.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เหรียญพระนาคปรก รุ่นบุญมาบารมีทวีทรัพย์ หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง

เหรียญพระนาคปรก รุ่นบุญมาบารมีทวีทรัพย์ หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม สำนักสงฆ์เขาแก้วทอง ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

วัตถุมงคลหลวงพ่อเงิน รุ่นช้างคู่ ย้อนยุค ปี 60 วัดท้ายน้ำ

วัตถุมงคล หลวงพ่อเงิน รุ่นช้างคู่ ย้อนยุค ปี 60 วัดท้ายน้ำ ร่วมทำบุญ สร้างฐานหลวงพ่อเงิน (องค์ใหญ่) ให้สำเร็จ

พระขุนแผน พรายเศรษฐี พระอาจารย์นเรศ วัดบุญน้ำทิพย์ (วัดน้ำจาง)

วัตถุมงคล พระขุนแผน พรายเศรษฐี พระอาจารย์นเรศ ธัมมโชโต วัดบุญน้ำทิพย์ (วัดน้ำจาง) จังหวัดเพชรบูรณ์ พระเกจิอาจารย์สายเขมร พระเกจิเจ้าของน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ สะเดาะเคราะห์ เสริมบารมี แห่งสำนักสงฆ์บุญน้ำทิพย์ (น้ำจาง).